แนวคิดที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากในปัจจุบัน มีขยะมูลฝอยมากมาย และหนึ่งในประเภทของขยะมูลฝอยนั้นคือ โฟม โฟมเป็นขยะที่ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาตินานมากคือ ไม่ต่ำกว่า 500 ปี (อ้างอิงจาก http://elibrary.energy.go.th/) โฟมเป็นขยะที่มีมากในบริเวณตลาด ชานเมือง หรือเมืองหลวงที่มีประชาชนอยู่อย่างแออัด และสามารถพบได้โดยทั่วไป เพราะโฟมนั้นเป็นภาชนะที่ใช่บรรจุอาหารที่นิยมกันทั่วไปเพราะมีความสะดวกสบาย ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางชีวภาพของเราได้ก้าวขึ้นไปอย่างมากมายจึงมีการคิดค้นโฟมจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายเองได้ง่ายขึ้นและลดเวลาการย่อยสลาย แต่ก็ยังมี ร้านค้าขายขนาดเล็ก กลาง ถึงใหญ่ ยังมีการใช้โฟมที่ทำจากสารสังเคราะห์อยู่เพราะมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป และก็ยังมีผู้บริโภคที่ใช้โฟมบรรจุอาหารแล้วทิ้งตามถังขยะ หรือ ตามท้องถนน จึงทำให้เกิดมลพิษแก่สังคมและประเทศชาติดังนั้นทางเราจึงคิดค้นวิธีการย่อยสลายโฟมจากธรรมชาติด้วยสารไพนินที่มีอยู่มากในสมุนไพรไทย เช่น พริกไทยดำ รากเหง้าของกระชาย สารไพนินเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับอะซิโตนคือสามารถย่อยโฟมได้
ปัญหา
พริกไทยดำทำงานร่วมกับกระชายด้วยสารไพนินจะสามารถย่อยสลายโฟมได้จริงหรือไม่
สมมติฐาน
ถ้าพริกไทยดำทำงานร่วมกับกระชายด้วยสารไพนินได้ ดังนั้นพริกไทยและกระชายดำจะสามารถย่อยสลายโฟมได้
จุดประสงค์ของการศึกษา
1.ศึกษาการทำงานร่วมกันของสารไพนินในพริกไทยดำและกระชาย
2.ศึกษาการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนิน
3.ศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมของสารไพนิน
4.ศึกษาสารที่ได้หลังจากการย่อยสลายโฟมโดยสารไพนิน
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟม คือ ความสามารถในการย่อยสลายโฟมของสารไพนินใน พริกไทยดำและเหง้าของกระชาย การทำงานร่วมกันของสารไพนิน คือ การที่นำสารไพนินจากพริกไทยดำและเกง้าของกระชายมารวมกันและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารๆพนินที่ทำงานร่วมกันและทำงานแยกกัน
วิธีการดำเนินการทดลอง
วัสดุ-อุปกรณ์
1. เหง้าของกระชาย
2. พริกไทยดำ
3. โฟม
4. ( ยังไม่มีข้อมูล )
สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
ไม่มี
ขั้นตอนการทดลอง
ตอนที่ 1 ศึกษาการทำงานร่วมกันของสารไพนินในพริกไทยดำและเหง้ากระชาย
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบว่า ในการทำงานของสารไพนินในพริกไทยดำ และเหง้าของกระชาย สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
สมมติฐาน ในการทำงานร่วมกันของสารไพนินในพริกไทยดำและในเหง้าของกระชาย สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวแปรอิสระ สารไพนินในพริกไทยดำและเหง้าของกระชาย
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพของสารไพนินในพริกไทยดำที่ทำงานร่วมกับสารไพนินในเหง้าของกระชาย
ตัวแปรควบคุม ปริมาณหยดของน้ำพริกไทยดำและเหง้ากระชายที่มีสารไพนีนที่หยดลงบนโฟม
วิธีการทดลอง นำสารไพนินจากพริกไทยดำและเหง้าของกระชายมารวมกันแล้วทดลองย่อยสลายโฟม แล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการย่อยโฟมด้วยสารไพนินที่แยกกัน ( ย่อยด้วยสารไพนินจากพริกไทยดำ และย่อยด้วยสารไพนินจากเหง้าของกระชาย )
ตอนที่ 2 ศึกษาการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนิน
จุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนินว่าเหง้ากระชายและพริกไทยดำสามารถย่อยสลายโฟมได้หรือไม่
สมมติฐาน สารสกัดจากเหง้ากระชายและพริกไทยดำมีสารไพนินซึ่งสามารถย่อยสลายโฟมได้
ตัวแปรอิสระ การย่อยสลายโฟม
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพการลายโฟมจากสารไพนินที่ได้
ตัวแปรควบคุม ปริมาณการหยดสาร
วิธีการทดลอง นำสารไพนินที่ได้มาทดลองหยดลงบนโฟมที่เตรียมเอาไว้ แล้วสังเกตุผล
ตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมของสารไพนิน
จุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนิน
สมมติฐาน สารไพนินมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟม
ตัวแปรอิสระ สารไพนิน
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการย่อยสลายโฟม
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารไพนิน
วิธีการทดลอง นำสารไพนินมาย่อยสลายโฟมแล้วศึกษาประสิทธิภาพของมันว่า สามารถย่อยสลายได้ดีหรือไม่
ตอนที่ 4 ศึกษาสารที่ได้หลังจากการย่อยสลายโฟมโดยสารไพนิน
จุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสารที่ได้หลังจากการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนิน
สมมติฐาน สารที่ได้หลังจากการย่อยสลายโฟมน่าจะเป็นสารที่ไม่ทำให้เกิดมลภาวะ
ตัวแปรอิสระ สารไพนิน
ตัวแปรตาม สารที่ได้หลังจากการย่อยสลายโฟมด้วยสารไพนิน
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสารหยดน้ำของเหง้ากระชายและพริกไทยดำ และคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของโฟม
วิธีการทดลอง นำสารไพนินที่เราได้จากเหง้าของกระชายและพริกไทยดำ มาเทใส่โฟม และรอให้โฟย่อยสลาย จากนั้นศึกษาสารที่เหลือจากการย่อยโฟมครั้งนี้
งบประมาณที่คาดว่าจะใช้
( ยังไม่มีข้อมูล )
เอกสารอ้างอิง
( ยังไม่มีข้อมูล )
ภาคผนวก
( ยังไม่มีข้อมูล )